เรื่องที่ 4.3.1 
การใช้สีแบบประสานกลมกลืน
การใช้สีในงานออกแบบทัศนศิลป์
แนวทางการใช้สี ต่อไปนี้ เป็นแนวทางกว้าง ๆ เท่านั้น ผู้เรียนสามารถนำไป ประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับการใช้งาน ในลักษณะ ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง กับงานออกแบบทัศนศิลป์ ซึ่งได้กำหนด แนวทางการใช้ ออกเป็น 2 แนวทาง คือ การใช้สีแบบประสานกลมกลืน และการใช้สีแบบแตกต่างกัน





การใช้สีแบบประสานกลมกลืน
มีแนวทางการใช้ 5 แนวทาง คือ
1. การใช้สีเอกรงค์ (Monochromatic Colors)
การใช้สีแบบประสานกลมกลืน วิธีที่ง่ายที่สุด คือ การใช้สีเอกรงค์ สีเอกรงค์ ถ้าพิจารณา ตามรูปศัพท์แล้ว จะหมายถึง การใช้สีสีเดียว หรือสีใดสีหนึ่งในวงล้อสี (Colors Wheel) โดยสี ที่ใช้นั้น มีทั้ง น้ำหนักอ่อน-แก่ (Lightness Darkness) สด สีหม่น (Brightness-Dullness) การใช้สีวิธีนี้ จะมีความ กลมกลืนเป็นสีใดสัหนึ่ง อย่างชัดเจน และมีประสิทธิภาพ ในการสร้าง อารมณ์โดยรวมได้ง่าย ด้วยการใช้สีเพียงสีเดียว

แต่ในบางครั้ง การใช้สีเอกรงค์วิธีนี้ อาจดูไม่มีชีวิตชีวา เพราะขาดความหลากหลาย ของสี ซึ่งอาจทำให้ไม่มีความน่าสนใจ จืดชืด ไม่มีชีวิตชีวา จึงมีแนวทางการ ใช้สีเอกรงค์อีกวิธหนึ่ง คือ การนำสีที่ใกล้เคียงกัน กับสีหลักที่ใช้จากวงสี แต่สีที่นำมาใช้ร่วม หรือเป็นสีรองนั้น ไม่ควรเกิน 3 สี และต้องลดความเข้ม ความสดใสโดยผสมกับสีตรงข้าม แล้วผสมด้วย สีหลักทุกครั้งก่อน เช่น


กำหนดสีเขียวอ่อนเป็นสีหลัก สีที่ใกล้เคียง ที่เป็นสีรอง ในวงสีคือ เหลือง เขียว เขียวน้ำเงิน แต่มักนิยม ใช้เพียงแค่ 3 สี คือ เหลือง เขียวเหลือง เขียว โดยสีรองนี้ต้องนำมาลดค่าความสดใสลง โดยการผสมกับ สีคู่ตรงกัยข้ามในวงสี และที่ลำคัญก็คือ ใช้ในปริมาณที่น้อยกว่าสีหลัก การใช้สีเอกรงค์วิธีนี้ทำให้งานออกแบบนั้น มีความน่าสนใจ มีชีวิตชีวา มีความหลากหลายของสี แต่ดูโดยรวมแล้ว ยังออกเป็นสีสีเดียว มีจุดเด่น ที่สดใสในส่วนที่เป็นสีหลัก



2. การใช้สีแบบสีใกล้เคียง (Relate Colors,Anagolous Colors)
สีใกล้เคียง (Relate Colors) หมายถึง สีที่อยู่ใกล้เคียงกัน ในวงสี เราสามารถ กำหนดสีใกล้เคียงได้โดย ยึดสีใดสีหนึ่งเป็นหลักก่อน แล้วนับไปทางซ้าย หรือขวาทางใดทางหนึ่ง หรือทั้ง 2 ทาง นับร่วมกับสีหลัก แล้วไม่เกิน 4 สี ถือว่า เป็น กลุ่มสีที่กลมกลืน และถ้าจะ ให้สีกลมกลืน กันที่สุดก็นับเพียง 3 สี เท่านั้น


การใช้สีใกล้เคียง มีข้อแนะนำการใช้การใช้ 3 วีธี ดังนี้

1. ใช้สีใกล้เคียงที่มีความ กลมกลืนตามจำนวน 4 สี หรือ 3 สี ที่อยู่ในโทนเดียวกัน เช่น โทนร้อน หรือโทนเย็นหรือ สีที่มีค่าน้ำหนัก ไม่แตกต่างกันมากนักได้เลย เพราะสีในกลุ่มนี้ จะกลมกลืนกัน เป็น ธรรมชาติอยู่แล้ว ผลงานที่ออกมา จึงกลมกลืนสัมพันธ์กัน เป็น หน่วย เดียวกัน
สีใกล้เคียงกันในธรรมชาติ
สีใกล้เคียงกันในโทนร้อน และโทนเย็น (ซ้าย Van Gogh : Allee Des Alyscamps ขวา Monet: )
 
2. หากต้องการใช้สีกลมกลืน ที่ต้องการเน้นจุดเด่น จุดน่าสนใจ ในงานออกแบบนั้น ควรเลือกสีกลมกลืนที่มีบางสีที่ไม่อยู ในโทนเดียวกัน เช่นมีบางสีอยู่ใน โทนร้อน หรือโทนเย็นหรือเป็นสีที่มีค่า น้ำหนัก แตกต่างกัน และควรให้ใช้สีเหล่านี้ มีปริมาณที่น้อยกว่า สีส่วนรวม


(Pissaro : Peasant Girl
with a Straw Hat ,1881)
 

การใช้สีใกล้เคียง (Relate Colors) อาจจะดูคล้ายกับการใช้สี เอกรงค์ แต่แตกต่างกันตรงที่ สีรองที่นำมาใช้ร่วมกับสีหลักนั้น ใช้ได้ทั้งสีสด และสีหม่น ซึ่งต่างจากการใช้สี เอกรงค์ ที่สีรองนั้น ต้องเป็นสีหม่นเสมอ



2. การใช้สีแบบวรรณะ (WarmTone / Cool Tone)
จากวงสีธรรมชาติทั้ง 12 สี ถ้าเรียงลำดับของสีตั้งแต่ สีเหลือง
เวียนมาทางซ้าย ซึ่งประกอบด้วย

สีเหลือง (Yellow )
สีส้มเหลือง (Yellow – Orange)
สีส้มแดง (Red – Orange)
สีส้ม (Orange)
สีแดง (Red)
สีม่วงแดง (Red – Violet)

จะพบว่ากลุ่มสีทั้ง 6 สีนี้ ให้อารมณ์อบอุ่น ร้อนแรง ตื่นเต้น จึงได้มีการกำหนดว่าสีกลุ่มนี้เป็นสี
วรรณะร้อน (Warm Tone)



และถ้าเรียงลำดับของสีตั้งแต่ สีเขียวเหลือง เวียนมาทางขวา
ซึ่งประกอบด้วย
สีเขียวเหลือง (Yellow – Green)
สีเขียว (Green)
สีเขียวน้ำเงิน (Blue - Green)
สีน้ำเงิน (Blue)
สีม่วงน้ำเงิน (Blue – Violet)
สีม่วง (Violet)

จะพบว่ากลุ่มสีทั้ง 6 สีนี้ ให้อารมณ์เยือกเย็น สงบ ความมีชีวิต จึงได้มีการกำหนดว่าสีกลุ่มนี้เป็นสี
วรรณะเย็น (Cool Tone)
แต่มีอยู่ สองสีคือ สีเหลือง และสีม่วง ถ้าไปปะปนอยู่ในวรรณะร้อน หรือ วรรณะเย็น ก็สามารถให้ความรู้สึกได้ทั้ง สองวรรณะ ตามแต่สถานการณ์ และสีรอบข้าง
หลักการใช้สีแบบวรรณะมี 2 แบบ ดังนี้ คือ

1. การใช้สีวรรณะเดียว คือ การเลือกใช้ สีวรรณะใดวรรณะหนึ่งเท่านั้น ผลงานที่ออกมา ก็จะดูเป็นผลงานที่มีสีสัมพันธ์กัน กลมกลืนกัน เป็นหน่วย เดียวกัน แต่ละวรรณะ ก็จะให้ความรู้สึก ที่แตกต่างกันเช่น


ใช้สีวรรณะร้อน จะให้ความรู้สึกตื่นเต้น ร้อนแรง เร้าใจ
ใช้สีวรรณะเย็น จะให้ความรู้สึกสงบ นุ่มนวล สบาย
(Mark Rothko's Blue, Green, and Orange and Yellow 1)

2. การใช้สีวรรณะเดียวแต่มีการนำอีกวรรณะ มาร่วมด้วย เพื่อเป็นการ เน้นจุดเด่น สร้างความสนใจ และไม่ให้อารมณ์ไปทางใดทางหนึ่งจนเกินไป เช่นร้อน หรือเย็นจนเกินไป เป็นต้น แต่การใช้สีในกรณีนี้ ก็มีข้อแนะนำ คือ
ใช้สีต่างวรรณะมาร่วมด้วย ในอัตราส่วน 90 : 10
ใช้สีต่างวรรณะมาร่วมด้วย ในอัตราส่วน 80 : 20
ใช้สีต่างวรรณะมาร่วมด้วย ในอัตราส่วน 70 : 30
(Henri de Toulouse-Lautrec - The Kiss - 1892 )


 

4. การใช้สีส่วนรวม (Tonality)

การใช้สีส่วนรวม คือ การใช้สีหลาย ๆ สีเป็นทั้งสีในวรรณะร้อน และวรรณะเย็น ได้ทุกสี ที่อยู่ในวงจรสีแต่ให้ดูรวม ๆ แล้วออกเป็นสีใดสีหนึ่ง ตัวอย่างที่เ็นได้ชัดของการใช้สีวิธีนี้ ก็คือ สีในธรรมชาติ ซึ่งจะประกอบ ด้วยสีหลาย ๆ สีทั้งสีร้อน สีเย็น สีสด สีหม่นแต่เมื่อดูรวม ๆ แล้ว โดยเฉพาะ เมื่อมองจากมุมสูงทางอากาศแล้ว จะเห็นว่า สีเขียว เป็นสีที่ ครอบคลุม บรรยากาศทั้งหมด นั่นก็คือเป็นวรรณะของสีเขียว
ภาพทิวทัศน์ (Landscape) “Wiwanhoe Park “by John Constable


VanGogh's
Sunflowers, 1888

 
การใช้สีวิธีนี้ก็คือ การเลือกใช้สีใดสีหนึ่งเป็นหลักและ ใช้ในปริมาณ ที่มากกว่า สีอื่นและสีอื่น ๆ ที่จะนำมาใช้ร่วมกันนั้นพยายามลดค่าของสี ให้หม่นลง โดยการนำสีคู่ตรงกันข้ามมาผสม และใช้ในปริมาณที่น้อยกว่า
(The Dream, 1910 Henri Rousseau)






5. การใช้สีแบบค่าของสี (Value of Color)

ค่าของสี หมายถึง ลักษณะความเข้มหรือความอ่อน – แก่ ของสีที่ไล่เลี่ยกัน การใช้สีแบบค่าของสีนี้ คือการใช้สีแท้ (Hue) ผสมกับสีกลาง คือสีดำ สีขาว สีเทา ทำให้ค่าของสี (Value) นั้นอ่อน หรือเข้มขึ้น การใช้สีแบบค่าของสีนี้มี 2 แนวทาง คือ

1. การใช้สีในค่าน้ำหนักของสีสีเดียว (Values of Single Color) คือ สีแท้สีใดสีหนึ่งผสมด้วยสีขาว หรือสีดำ ให้น้ำหนัก ของสีนั้น แตกต่างไล่เลี่ยกัน ซึ่งสามารถกระจายค่าของสีออกเป็นระยะได้หลายระยะ ตามต้องการ

2. การใช้สีในค่าน้ำหนักของสีหลายสี (Values of Different Colors) คือ การใช้สี ซึ่งมีค่าน้ำหนักอ่อน แก่ ในแนวทางที่ 1 มาใช้ร่วมกัน จำนวนหลายสี แต่ชุดสีที่นำมาใช้ร่วมกันนี้ มักจะเป็นสีที่อยู้ใกล้เคียงกัน ในวงจรสี หรือมีวรรณะ ของสี (Hue) ที่คล้ายกัน ซึ่งจะทำให้ผลงานนั้น มีความประสานกลมกลืน กันเป็นอย่างดการใช้สีวิธีนี้เป็นการใช้สีเพียงไม่กี่สี หรือแม้เพียงสีเพียง 1 สี แต่ผลที่ออกมาแล้ว เหมือนกับการใช้สีจำนวนหลายสี ที่มีความสัมพันธ์ กันเป็นอย่างดี
 

“ Black Iris , 1926“ by Georgia O’ Keeffe
 

  





 

เรื่องที่ 4.3.2 
การใช้สีแบบแตกต่างกัน
สีแบบแตกต่างกัน ที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ จำแนกออกได้เป็น 2 ประเภท คือ สีแบบแตกต่างกันชนิดตัดกันอย่างแท้จริง และสีแบบแตกต่างกัน ชนิดตัดกันอย่างธรรมดา
1. การใช้สีแบบแตกต่างกันชนิดตัดกันอย่างแท้จริง (True Contrast)

สีตัดกันอย่างแท้จริง (True Contrast) หมายถึงสี 2 สีที่มีความ ขัดแย้งซึ่งกันและกัน รุนแรง บาดตา ถ้าดูจากวงสีธรรมชาติ จะเป็นสีที่อยู่ใน ตำแหน่งตรงกันข้ามกัน และมีค่าที่ตัดกันอย่างรุนแรง สีเหล่านี้ ประกอบด้วย
สีเหลือง ตัดกับ สีม่วง
สีส้มเหลือง ตัดกับ สีม่วงน้ำเงิน
สีส้ม ตัดกับ สีน้ำเงิน
สีส้มแดง ตัดกับ สีเขียวน้ำเงิน
สีแดง ตัดกับ สีเขียว
สีม่วงแดง ตัดกับ สีเขียวเหลือง
สีตัดกันนี้ อาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า สีคู่ (Complementary Color) ทั้งนี้เพราะนอกจาก จะมีทิศทางที่เป็นสีคู่ตรงกันข้ามกัน ในวงสีแล้ว ยังมีอิทธิพลซึ่งกันและกัน เช่น ในเงาของสีแต่ละสี จะมีเงา ของ สีคู่เจือปนอยู่ ทำให้ยึดถือเป็นทฤษฎีว่า หากต้องการทำให้สีใด ๆ หม่นลง หรือเหมือนกับอยู่ในเงามืดแล้ว ให้ใช้สีคู่ตรงกันข้ามนี้มาผสม จะทำให้ผลที่ได้เป็นธรรมชาติ ที่ถูกต้อง แท้จริง การใช้สีวิธีนี้ ทำให้ งานออกแบบนั้น มีความโดดเด่น สดุดตา น่าสนใจ แต่ควรมีแนวทาง การใช้ที่ถูกต้อง เพราะสีคู่เหล่านี้ มีค่าของสีที่ตัดกัน อย่างรุนแรง
 
ในธรรมชาติได้จัดสัดส่วนของสีตัดกันอย่างแท้จริง ได้อย่างลงตัว






John Miro's Morning Break









 
แนวทางการใช้สีตัดกันอย่างแท้จริง ให้มีประสิทธิภาพ โดยลด ความรุนแรง ความขัดแย้งของคู่สีให้น้อยลง เพื่อให้การใช้สีคู่ตัดกันดู สบายตาขึ้นและมีความสัมพันธ์กันเป็นอย่างดี มีแนวทาง ดังต่อไปนี้
1. เมื่อต้องการใช้สีคู่ตัดกัน โดยไม่ผสมสีอื่นใด ให้ใช้ ในอัตราส่วน แตกต่างกัน เช่น 90 : 10 , 80 : 20 , 70 : 30 เป็นต้น
2. ใช้สีหนักหรือสีเข้มตัดเส้น ในวัตถุที่มีสีสดใส

3. ลดความสดใสของสีใดสีหนึ่งลง โดยใช้สีคู่ตรงกันข้าม

4. ลดความสดใสของสีคู่ทั้ง 2 สี ลง โดยใช้สีคู่ตรงกันข้าม

(Van Gogh's Field with Poppies)









Frederick Carl Frieseke's
Through the Vines - 1908

การใช้สีแบบแตกต่างกันชนิดสีตรงกันข้ามเยื้อง
(Split Complementary Colors)

สีตรงกันข้ามเยื้อง (Split Complementary Colors) หมายถึงสี คู่ตรงกับข้าม ที่อยู่เยื้องมาทางซ้ายและทางขวาของ สีคู่ปฏิปักษ์ เช่น
สีคู่ตรงกันข้ามเยื้องของ สีเหลือง คือ สีม่วงแดง และม่วงน้ำเงิน
สีคู่ตรงกันข้ามเยื้องของ สีม่วง คือ สีส้มเหลือง และเขียวเหลือง

ผลที่ได้ ของวิธีการใช้สีวิธีนี้ ก็คือ ลดความรุนแรง และความตัดกัน ของค่าสีคู่ตรงกับข้ามโดยตรงลง และได้ความหลากหลายของสีมากขึ้น เมื่อเทียบกับการใช้สีคู่ที่มีเพียง 2 สี ทำให้งานออกแบบนั้น มีความ น่าสนใจขึ้น แต่การใช้สีคู่ตรงกันข้ามเยื้องนี้ ให้มีประสิทธิภาพนั้น ก็พึงระมัดระวังเช่นเดียวกัน เพราะสีเหล่านี้ยังมีค่าความตัดกันสูงอย แนวทางในการใช ให้นำแนวทางของการใช้สีตัดกันอย่างแท้จริง ในหัวข้อก่อนนี้มาใชได้เลย




Henri Matisse's
Woman with the Hat,1904

นอกจากนี้หากต้องการความหลากหลายของสีมากขึ้น ก็มีวิธีการใช้สีที่ คล้ายเคียงกับการใช้สี วิธีนี้ ก็คือ การใช้สีตรงกันข้าม 2 คู่ (Double Complementary Colors) การใช้สีวิธีนี้นี้ดัดแปลง มาจาก การใช้สีคู่ตรงข้าม (Complementary Colors)คือแทนที่จะใช้ สี ตรงกันข้ามเพียงคู่เดียว ก็ใช้ 2 คู่ จำนวน4 สี เช่น



คู่ของสีเหลือง และสีม่วง
คู่ของสีเขียว และ สีแดง



ข้อดีของการใช้สีวิธีนี้ก็คือได้สีเพิ่มขึ้น ทำให้มีความ น่าสนใจเพิ่มขึ้น แต่สีที่หลากหลายที่เพิ่มขึ้นนี้ หากไม่ระมัด ระวังให้ดีแล้ว อาจจะ ทำให้เอกภาพ ในงานออกแแบนั้น เสียไปได้ เช่นกัน วิธีการใช้ ก็ เช่นเดียว กับวิธีการใช้สีคู่ตรงข้าม (Complementary Colors)

Claude Monet 's Houses of Parliament, London,
Sun Breaking Through Fog -1904











John Miro's Femme Assise
 

2. การใช้สีแบบแตกต่างกันชนิดสีตัดกันโดยน้ำหนัก
(Value Contrast)


สีตัดกันโดยน้ำหนัก (Value Contrast) ได้แก่สีที่มีความแตกต่างกัน ในเรื่องความเข้ม หรือคุณค่าน้ำหนัก (Value)ของแต่ละสี ซึ่งไม่ใช้สีคู่ตรงข้าม (Complementary Colors) กันในวงสี ความเข้ม หรือตัดกัโดยน้ำหนักนี้ จะมีติดตัวเป็นลักษณะเฉพาะ ของแต่ละสี ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจน หากปรับค่าสีเหล่านั้นมาเป็นค่าน้ำหนัก ขาว ดำ

แนวทางการใช้สีตัดกันโดยน้ำหนัก (Value Contrast) อาจใช้แนวทาง เดียวกับการใช้สีตัดกันอย่างแท้จริง (True Contrast) หรือใช้แนวทาง อื่น ๆ ก็ได้ ทั้งนี้ เพราะ ค่าของสีตัดกัน โดยน้ำหนักนี้ ไม่รุนแรง และแตกต่างกันมากนัก









การใช้สีแบบแตกต่างกันชนิดไตรสัมพันธ์ (Triadic Color)
สีไตรสัมพันธ์ (TriadicColor) คือ 
การใช้สีสามสี ที่มีระยะ ห่างจากตัวมันเอง เท่า ๆ กันในวงจรสี เปรียบเหมือน มีรูปสามเหลี่ยม ด้านเท่าวางอยู่บนวงสี และตรงมุม 3 มุมนั้นก็จะเป็นสี 3 สี ที่เข้าชุดกัน เป็น 3 เส้า

ตัวอย่างเช่น ใช้สีเหลือง เป็นสีที่ 1 จากนั้นก็เว้นไปอีก 3 สี ตามเข็มนาฬิกา ก็จะได้ สีน้ำเงินเป็นสีที่ 2 เว้นไปอีก 3 สี ก็จะได้สีแดง เป็นสีที่ 3 จะเห็นได้ว่าทั้ง 3 สี คือ สีเหลือง สีน้ำเงิน และสีแดง ชุดนี้ นี้มีระยะห่างเท่า ๆ กันในวงจรสี คือห่าง 3 ส
กับชุดสีอื่น ๆ ก็ใช้วิธีเดียวกันคือ (ภาพบน) กำหนดสีที่ 1 เป็นสีหลักก่อน และกำหนดสีที่ 2 และสีที่ 3 ในวงจรสี จากการเว้นระยะห่างกัน 3 สี เป็นสีร่วม


Calder's Convection

Calder 's Friendship

สีไตรสัมพันธ์ เป็นสีที่มีค่าของสีที่ตัดกัน แต่ตัดกันโดยน้ำหนัก ไม่ใช้ตัดกัน โดยแท้จริง (True Contrast) หรือเป็นสีคู่ (Complementary Colors)และสีไตรสัมพันธ์นี้ จะเป็นสีที่อยู่ในวรรณะใดวรรณะหนึ่ง (Warm Tone or Cool Tone) อยู่สองสีและอีกวรรณหนึ่ง 1 สี
ประสิทธิภาพของการใช้สีไตรสัมพันธ์นี้ ทำให้ค่าน้ำหนัก และความจัดของ สีในงานออกแบบทางศิลปนั้นมีความแตกต่างกัน แต่สามารถอยู่ร่วมกัน ได้อย่างมีชีวิตชีวาและมีความสัมพันธ์กัน สร้างความเด่น และสดุดตามาก
Piet Mondrian, Composition with Red, Yellow and Blue -1921

  
การใช้สีแบบแตกต่างกันชนิดจตุสัมพันธ์ (Quadratic Color)

การใช้สีจตุสัมพันธ์ (QuadraticColor) คล้ายกับการใช้สีไตรสัมพันธ์ (TriadicColor) แต่แตกต่างกันตรงที่ เป็นการใช้สี 4 สี คือเพิ่มเข้ามาอีก 1 สี และสีเหล่านี้ ก็มีระยะ ห่างจากตัวมันเอง เท่า ๆ กันในวงจรสี เปรียบเหมือน มีรูปสี่เหลี่ยม ด้านเท่าวางอยู่บนวงสี และตรงมุม 4 มุมนั้น ก็จะเป็นสี 4 สี ที่เข้าชุดกัน ตัวอย่างเช่น (ภาพที่ 1) ใช้สีส้มเหลือง เป็นสีที่ 1 จากนั้นก็เว้นไปอีก 2 สี ตามเข็มนาฬิกา ก็จะได้ สีเขียว เป็นสีที่ 2 เว้นไปอีก 2 สี ก็จะได้สีม่วงน้ำเงิน เป็นสีที่ 3 จากนั้นก็เว้นไปอีก 2 สี ก็จะได้สีแดง เป็นสีที่ 4 จะเห็นได้ว่าทั้ง 4 สี คือ สส้มเหลือง สีเขียว สีม่วงน้ำเงิน และสีแดงนี้มีระยะห่างเท่า ๆ กันในวงจรสี คือห่าง 2 สี สำหรับสีอื่น ก็ได้เช่นเดียวกัน ((ภาพที่ 2,3) สีไตรสัมพันธ์ (TriadicColor)โดยกำหนดสีที่ 1 เป็นสีหลักก่อน และกำหนดสีที่ 2 สีที่ 3 และสีที่ 4 ในวงจรสี จากการเว้นระยะห่างกัน 2 สี เป็นสีร่วม

สีจตุสัมพันธ์ เป็นสีที่มีค่าของสีที่ตัดกัน โดยน้ำหนัก ไม่ใช้ตัดกัน โดยแท้จริง (True Contrast) หรือเป็นสีคู่ (Complementary Colors) แต่น้ำหนักที่ตัดกันนั้น น้อยกว่า สีไตรสัมพันธ์ และสีชุดจตุสัมพันธ์นี้ จะเป็นสีที่อยู่ในวรรณะใดวรรณะหนึ่ง (Warm Tone or Cool Tone) อยู่ 2สีและอีกวรรณหนึ่ง 2 สีประสิทธิภาพของการใช้สีไตรสัมพันธ์นี้ นอกจากค่าน้ำหนัก และความจัดของสีใไม่รุนแรงมากนักแล้ว ยังมีความหลากหลายของสี มากขึ้นซึ่งการนำไปใช้ต้องพิจารณาร่วมกับ ความเหมาะสมของแต่ละ ชิ้นงาน และแต่ละจุดประสงค์ด้วย
  

Mao by Andy Warhol,


ภาพ Terrace at Night
โดยศิลปิน Van Gogh
แสดงประสิทธิภาพของ
การใช้สีปรากฎเด่นชัด
(Intensity) 

 

การใช้สีแบบแตกต่างกันชนิดสีปรากฏเด่นชัด (Intensity)
สีปรากฏเด่นชัด (Intensity) หมายถึง สีที่ดูแล้ว สะดุดตาโดยมีสีอื่น เป็น องค์ประกอบ เพื่อเสริมให้เกิด ความ เด่นชัดสดุดตามากขื้น กว่าค่าน้ำหนักเดิม

เช่นเดียวกับ ดวงจันทร์ จะเห็นเด่นชัดในเวลากลางคืน เพราะอยู่ ท่ามกลางท้องฟ้า ที่มืดหรือมีค่าน้ำหนักที่เข้ม

(Van Gogh's Night with Stars)

วัตถุที่สีสีอ่อน หรือมีสีสดใส ล้อมรอบด้วยพื้นหลัง (Background) ที่มีสีเข้ม หรือมีน้ำหนักแก่ จะทำให้วัตถุนั้นมีความสว่าง สดใสกว่า อยู่บนพื้นหลังสีอ่อน
 



Malevich 's
Rotes Quadrat auf Schwarz, ca. 1922










การใช้สีแบบแตกต่างกันชนิดกลับค่าของสี(Discord)
การใช้สีโดยการกลับค่าของสี คือ การใช้สีที่มีน้ำหนักอ่อน ร่วมกับสีที่มีน้ำหนักแก่ แต่กลับน้ำหนักของสีแก่นั้นให้อ่อนลงกว่าสีที่มี น้ำหนักอ่อนและใช้ในปริมาณที่น้อยกว่า

ตัวอย่างเช่น การใช้สีเขียวร่วมกับสีม่วง ในทางน้ำหนักแล้ว สีเขียวจะมีน้ำหนักของสีอ่อนกว่าสีม่วง แต่เมื่อนำมาใช้โดยวิธีนี้ก็คือ กลับค่าหรือผสมสีม่วงนั้นให้มีน้ำหนักอ่อนที่สุด โดยให้อ่อนกว่า สีเขียว นั้นและนำไปใช้ในปริมาณที่น้อยกว่าการใช้สีวิธีนี้สามารถนำมาใช้ในงาน ออกแบบ ศิลปะเพื่อ การสร้างจุดเด่นและเพื่อความน่าสนใจมีชีวิตชีวา






Vincent Van Gogh's Harvest